507 จำนวนผู้เข้าชม |
หลังคารั่วซึม ถือได้ว่าเป็นปัญหาที่พบเจอได้บ่อยและมีโอกาสเกิดปัญหานี้ได้เกือบทุกบ้าน เพราะไม่ว่าจะเป็นหลังคาแบบไหนเมื่อใช้งานนานไปก็ต้องมีการเสื่อมสภาพตามกาลเวลา ซึ่งปัญหานี้อาจเกิดขึ้นมาสักระยะหนึ่งแล้ว เพียงแต่ว่าเราอาจไม่ทันได้สังเกตจนเมื่อฤดูฝนมาถึง ที่นี้เราก็ว้าวุ่น ต้องรีบติดต่อช่างมาเร่งแก้ไข แต่การเรียกช่างมาในช่วงฤดูฝนก็อาจจะต้องรอคิวนานหรืออาจจะต้องใช้เวลาในการดำเนินการหลายวัน ดังนั้นในบทความนี้ TCS.Service ขอมาแนะนำวิธีการดูจุดหลังคารั่วซึมที่พบกันได้บ่อย เพื่อที่เราจะได้สามารถตรวจเช็กสภาพเบื้องต้นและติดต่อช่างได้อย่างทันท่วงทีแบบไม่ต้องรอให้ถึงหน้าฝนมาฝากกัน
บริเวณอุปกรณ์ยึดหลังคา: หลังคาหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นหลังคาเมทัลชีท หลังคาสังกะสี หรือจะเป็นหลังคากระเบื้องลอนคู่ ต่างก็จะมีสกรูยึดซึ่งเจาะทะลุหลังคาลงมา หากสกรูหรือน็อตที่ใช้ยึดเกิดเสื่อมสภาพหรือเกลียวคลายจนหลวมก็อาจทำให้น้ำซึมผ่านได้
วิธีแก้ไข: เราควรเปลี่ยนสกรูยึดหลังคาใหม่หากสกรูมีการเสื่อมสภาพหรือเป็นสนิม หรืออีกวิธีคือการใช้วัสดุกันซึมทาทับบริเวณสกรูอีกรอบก็ได้ผลเช่นเดียวกัน
บริเวณสันครอบหลังคา: ในบริเวณจั่วและสันหลังคาจะมีตัวครอบหลังคาที่ใช้สำหรับปิดรอยต่อระหว่างหลังคาแต่ละด้าน หากเป็นบ้านแบบเก่าที่ใช้การครอบหลังคาแบบเปียกที่ยึดสันหลังคาด้วยปูน เมื่อระยะเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ปูนที่ยึดสันครอบหลังคาก็อาจเสื่อมสภาพจนเกิดอาการหลังคารั่วซึมได้
วิธีแก้ไข: ถอดสันครอบหลังคาแล้วกระเทาะเอาปูนเก่าที่ยึดสันหลังคาออก จากนั้นทำปูนยึดหลังคากับสันครอบใหม่ให้แนบสนิทปิดรูรั่วอีกครั้ง
บริเวณรางน้ำตะเข้ (Valley Rafter): รางน้ำตะเข้เป็นส่วนประกอบของหลังคาที่มีไว้ช่วยรองรับและระบายน้ำฝนให้ไหลลงสู่รางระบายน้ำ หากเป็นสนิม ผุกร่อน หรือมีเศษใบไม้ไปอุดตันก็อาจทำให้น้ำไหลย้อนกลับเข้าสู่หลังคาได้ในเวลาที่ฝนตกหนัก
วิธีแก้ไข: หากปัญหาเกิดจากการอุดตันบริเวณรางน้ำตะเข้ เพียงแค่ทำความสะอาดรางน้ำก็จะช่วยให้การระบายน้ำดีดังเดิม แต่หากปัญหาเกิดจากการชำรุดของรางน้ำตะเข้ ให้รีบติดต่อช่างเพื่อทำการเปลี่ยนรางน้ำใหม่โดยเร็ว
แผ่นกระเบื้องหลังคาเคลื่อน: สาเหตุนี้อาจเกิดขึ้นได้จากการที่ฝนตกหนักลมแรงจนกระเบื้องหลังคาเคลื่อน หรืออาจเกิดจากหลังคายึดเกาะกับโครงสร้างได้ไม่แน่นพอจึงอาจเคลื่อนได้เมื่อเจอกับลมแรงจนกลายเป็นช่องที่ทำให้หลังคารั่วได้
วิธีแก้ไข: เพียงขยับแผ่นกระเบื้องหลังคาให้กลับเข้าที่แล้วยึดกระเบื้องด้วยวัสดุยึดให้แน่นหนาขึ้นก็เป็นอันเสร็จสิ้น
กระเบื้องหลังคาชำรุด: จุดสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการเสื่อมสภาพของหลังคาตามกาลเวลา หรือเกิดจากมีของแข็งตกใส่หลังคาจนเกิดรอยแตก เป็นช่องว่างให้เกิดการรั่วซึมได้
วิธีแก้ไข: หากรอยรั่วไม่ใหญ่จนเกินไปเราสามารถใช้วัสดุกันซึมปิดทับรอยรั่วได้ แต่หากกระเบื้องหลังคาแตกเสียหายมากเราควรติดต่อช่างเพื่อทำการเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาใหม่
บริเวณขอบบนของผนังที่ต่อเติมบ้าน: สาเหตุมักเกิดจากการต่อเติมบ้านซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีหลังคาที่แยกจากตัวบ้านหลัก ทำให้หลังคาอาจรั่วในส่วนที่เป็นรอยต่อระหว่างหลังคากับผนังบ้านได้หากใช้วัสดุกันซึมระหว่างรอยต่อไม่ดีพอ
วิธีแก้ไข: ใช้วัสดุกันซึมประเภทกาวซิลิโคนเชื่อมรอยต่อระหว่างหลังคากับผนังบ้านให้แนบสนิท
หลังคารั่วซึมจากรอยร้าวบริเวณดาดฟ้า: ปัญหานี้มักเกิดขึ้นกับอาคารที่มีลักษณะเป็นตึกแถว เพราะบริเวณดาดฟ้ามีลักษณะเป็นพื้นปูนไม่มีหลังคาจึงอาจมีรอยร้าวเกิดขึ้นได้เมื่อระยะเวลาผ่านไปนาน
วิธีแก้ไข: หากรอยร้าวมีขนาดไม่ใหญ่สามารถใช้น้ำยากันซึมทาบริเวณรอยร้าวได้เลย แต่หากรอยร้าวมีขนาดใหญ่ต้องทำการซ่อมแซมด้วยการฉาบปูนใหม่แล้วจึงทาน้ำยากันซึมอีกครั้ง การรั่วซึมจากรอยร้าวนอกจากจะเกิดขึ้นได้ในบริเวณดาดฟ้าแล้ว ในส่วนของด้านข้างตัวอาคารก็อาจมีการรั่วซึมจากรอยร้าวผนังภายนอกได้เช่นกัน ซึ่งวิธีการแก้ไขก็จะแตกต่างกันตามแต่ละสาเหตุ อ่านเพิ่มเติมได้ที่: ซ่อมรอยร้าวผนังภายนอก
เช็กลิสต์ที่เราแนะนำให้ข้างต้นอาจต้องใช้ความระมัดระวังในการตรวจหาจุดรั่วซึมต่าง ๆ เพราะตำแหน่งที่เกิดปัญหาส่วนมากจะอยู่บนที่สูงและอาจต้องใช้อุปกรณ์และความชำนาญในการตรวจหาจุดเหล่านั้น ซึ่งหากคุณไม่สะดวกกับการซ่อมหลังคารั่วด้วยตัวเองหรือเคยซ่อมไปแล้วกลับมาเป็นซ้ำ เราขอแนะนำบริการซ่อมหลังคารั่วกับ TCS.Service เพราะเราเน้นการแก้ปัญหาในระยะยาว ด้วยความใส่ใจตั้งแต่การลงสำรวจพื้นที่หน้างาน เสนอวิธีการแก้ไขปัญหา ลงมือซ่อมแซมโดยช่างมากประสบการณ์โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน และเก็บงานอย่างเรียบร้อยก่อนส่งมอบให้ลูกค้าอย่างเป็นระบบ ทำให้เรากล้ารับประกันคุณภาพหลังการซ่อมสูงสุดถึง 1 ปีเต็ม เพื่อให้มั่นใจได้ว่าปัญหาหลังคารั่วของคุณจะถูกแก้ไขแล้วอย่างสมบูรณ์โดยไม่กลับมาเป็นซ้ำ
ติดต่อเราเพื่อนัดหมายช่างของเราได้ที่
• โทร : 083 704 5750
• Line : @tcs.service
• Facebook : TCS.Service